--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การสร้างแนวปฏิบัติที่ดีสาหรับการนำความรู้ไปใช้ เรื่อง การวิจัยกรณีศึกษา ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าการนำความรู้ ไปใช้ให้ได้ผลดีต้องมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนดังนี้
1. แนวนโยบายของบัณฑิตวิทยาลัย
1.1 การวิจัยกรณีศึกษา เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนประเภทอย่างง่าย ไม่ต้องทำเป็นบท ๆ 5 บท แต่จัดทำในลักษณะรายงานการวิจัย ไม่เกิน 10 หน้า เป็นการทำวิจัยอย่างรวดเร็วเพื่อแก้ปัญหานักเรียนและพัฒนานักเรียนกลุ่มเป้าหมายในระยะเวลาที่กำหนด ถือเป็นแนวนโยบาย นักศึกษาทุกคนต้องมีความสามารถในการวิจัยกรณีศึกษา
1.2 ส่งเสริม สนับสนุนให้คณาจารย์จัดการเรียนรู้ให้นักศึกษามีความสามารถในเรื่อง การวิจัยกรณีศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถแก้ปัญหาและพัฒนานักเรียนในการเรียนได้ตามศักยภาพ โดยมีวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 943601 การวิจัยด้านหลักสูตรและการสอนเฉพาะทางและ 942609 การปฏิบัติการสอน 1
1.3 สนับสนุนให้อาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำการวิจัยกรณีศึกษาแก่นักศึกษา
2. แนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอน
2.1 อาจารย์ผู้สอนประจำวิชารายวิชา 943601 การวิจัยด้านหลักสูตรและการสอนเฉพาะทาง และ 942609 การปฏิบัติการสอน 1 จัดทำ มคอ.3/ มคอ.4 มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความสามารถในการวิจัยกรณีศึกษา
2.2 อาจารย์ผู้สอนสอนนักศึกษาแบบเรียนรู้โดยการปฏิบัติทางการวิจัย (Research based Learning) ให้สามารถจัดทำการวิจัยกรณีศึกษาโดยให้นักศึกษาจัดทำเป็นงานเดี่ยวหรืองานกลุ่ม คนละหรือกลุ่มละ 1 เรื่อง
สำหรับนีการศึกษา 2564 มีจำนวน 1 รายวิชา ได้แก่ 942609 การปฏิบัติการสอน 1 มอบหมายงานให้นักศึกษาทำวิจัยกรณีศึกษาคนละ 1 เรื่อง ภายใต้การนิเทศติดตามอย่างใกล้ชิดของอาจารย์ โดยขั้นตอนการวิจัย เป้นกระบวนการต่อเนื่อง ใช้วงจร PAOR ดังนี้
1 การวางแผน (planning - P)
เป็นการกำหนดปัญหาการวิจัย วางแผนการแก้ปัญหาโดยใช้ศาสตร์การสอน ขั้นนี้ จะมีหัวข้อสำคัญ ได้แก่ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมุติฐานของการวิจัย (ถ้ามี) กรอบแนวคิดในการวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย (ประกอบด้วย ขอบเขตด้านเนื้อหา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มเป้าหมาย ตัวแปรที่ศึกษา) นิยามศัพท์เฉพาะ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการวิจัย (กำหนดรายละเอียดประชากรและกลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล)
2 การปฏิบัติ (Acting -A)
เป็นการดำเนินการต่อจากที่วางแผนไว้ ได้แก่ การสร้างและหาคุณภาพเครื่องที่ใช้ในการวิจัย การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
3 การสังเกต (Observing -O) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลและการสรุปผลการวิจัย
4 การสะท้อนผล (Reflecting - R) เป็นการอภิปรายผล ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้และข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.3 นักศึกษาจัดทำรายงานการวิจัย ไม่เกิน 10 หน้า ตามแบบและแนวทางที่กำหนดเพื่อนำเสนอในที่ประชุมสรุปบทเรียน (Reflecting) ในวิชาที่สอน และนักศึกษาทุกคนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทำกิจกรรมตามที่มอบหมาย
2.4 นักศึกษาทุกคนร่วมกิจกรรมการประเมินผลการนำเสนอผลงานการวิจัยกรณีศึกษาและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน อาจารย์ผู้สอน ได้คัดเลือกงานวิจัยกรณีศึกษาดีเด่น อันดับที่ 1-3
2.5 อาจารย์ผู้สอนสรุปผลการเรียนการวิจัยกรณีศึกษา นำเสนอจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาในที่ประชุมคณะกรรมการจัดการเรียนรู้
2.6 ในปีการศึกษา 2565 เพิ่มอีก 1 ขั้นตอน มีคณะกรรมการประชุมวิชาการของคณะ จัดการประชุมวิชาการและใหนักศึกษาเสนองานวิชากรณีศึกษาร่วมกับงานวิจัยอื่น ๆ