ความหมายและเทคนิคการเขียนสารนิพนธ์
สารนิพนธ์ คือ การค้นคว้าอิสระ (Independent Study) ซึ่งหมายถึงการศึกษาวิจัยอิสระ โดย อาศัยการกลั่นกรองความรู้และสาระในเนื้อหาต่างๆที่มีผู้ศึกษาวิจัยไว้แล้ว การค้นคว้า อิสระที่ได้มาจากการอ่าน การรวบรวมวิเคราะห์ของผู้เขียนแล้วนำมาสรุปผลให้เป็นเรื่องเดียวกัน
5 ข้อ สำคัญที่จะทำให้การเขียนสารนิพนธ์ของคุณนั้นมีคุณภาพมากขึ้น
บทความนี้เราจะพาคุณมาดู 5 หลักการเขียนสารนิพนธ์พื้นฐานง่ายๆ ที่คุณควรรู้ สำหรับเขียนสารนิพนธ์ส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยก่อนเบื้องต้น
1. ชื่อหัวข้อเรื่องสารนิพนธ์
ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ชื่อเรื่องของคุณต้องตรงประเด็น ไม่คลุมเครือ
2. ที่มาและความสำคัญของปัญหา
เป็นการเขียนเพื่อให้รู้ว่าทำไมต้องทำ ทำแล้วได้อะไร คล้ายกับการเขียนคำนำของเรียงความ แตกต่างตรงที่ว่าในการเขียนสารนิพนธ์ในส่วนนี้จะเขียนแสดงให้เห็นว่าตัวคุณมีองค์ความรู้ตัวคุณมากแค่ไหน เพื่อเชื่อมโยงให้เข้าสู่ประเด็นที่คุณต้องทำการศึกษา
3. วัตถุประสงค์การวิจัย
เป็นการวางแผนถึงจุดมุ่งหมายการทำงานของสารนิพนธ์ สำคัญมากที่คุณต้องกำหนดให้ชัดเจน ให้สอดคล้องกับปัญหาของสิ่งที่เราต้องการจะศึกษา จะเห็นได้ว่ามันเชื่อมต่อกันเป็นโดมิโน่เลย
ดังนั้นในขั้นตอนนี้คุณต้องจัดระบบผังความคิดดีๆ เพื่อไม่ให้เสียเวลา ถ้าหากสามารถปรึกษาอาจารย์ได้ทันที เราขอแนนำให้รีบปรึกษาก่อนที่คุณจะหลงทาง เพราะการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นหัวใจสำคัญในดำเนินการงานสารนิพนธ์
4. ขอบเขตการวิจัย
ขั้นตอนนี้ช่วยให้คุณทำงานสารนิพนธ์ได้ชัดเจนขึ้นมาอีก ว่าคุณจะดำเนินการในสถานที่ไหน กับใคร ใช้เวลานานเท่าไหร่ ระบุตัวแปรอิสระและตัวแปรตามให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อเสนอให้อาจารย์ของคุณทราบ
5. กรอบแนวคิดในการวิจัย
การเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัยควรจะเขียนออกมาให้เข้าใจง่าย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความคิดรวบยอดของการทำสารนิพนธ์ของคุณ
หลักการเขียนสารนิพนธ์ทั้ง 5 ข้อนี้
เป็นหลักพื้นฐานที่จะช่วยพัฒนาการเขียนสารนิพนธ์ของคุณ
เป็นหลักการเขียนที่นำมาใช้ได้จริง ที่ไม่ทำให้คุณเสียเวลาอ่านแน่นอน
Keywork:งานวิจัย, การทำงานวิทยานิพนธ์, แบบคำขออนุมัติหัวข้อสารนิพนธ์, สารนิพนธ์
Keywork:สารนิพนธ์, แบบคำขออนุมัติหัวข้อสำรนิพนธ์